ก.อุตฯประเมิน'ปาบึก'ถล่มใต้ ทำSMEเสียหายเกิน200ล้านบ.
เศรษฐกิจ
สำหรับการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนและเยียวยาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ทุกราย โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ จะพักชำระหนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายวงเงินประมาณ 3,200 ล้านบาท ซึ่งจะทำการสำรวจอย่างละเอียดและมีวงเงินเพิ่มให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนอีกรายละ 1-5 ล้านบาทโดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0.45% ต่อเดือน และยังมีเงินจากกองทุนเท่าแก่คนตัวเล็กวงเงิน 8000 ล้านบาทที่ เอาเอ็มอีแบงก์ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้ามาช่วยเหลือพร้อมกับประสานกับทางบริษัทเข้ามาค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการ
ขณะที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีวงเงินฉุกเฉินจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาวิสากิจชุมชน จะปล่อยกู้ 50,000 - 200,000 บาทต่อราย โดยได้ปรับลดดอกเบี้ยลงจากร้อยละ 4 เหลือ1 %ต่อปี โดยคาดว่าจะใช้วงเงิน 30 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้กองทุนฟื้นฟู SME จาก สสว. จะยืดหนี้ออกไปอีก 6 เดือนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งเรื่องของรายได้ และ และฟื้นฟูกิจการให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาตใต้
"ในพื้นที่มี SME ขนาดกลางและขนาดเล็กประมาณ 95 % ซึ่งร่วมกว่า 1 หมื่นราย ไม่นับรวมโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่อีก 1,944 ราย ดังนั้นความเสียหายน่าจะมีมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท โดยในจังหวัดปัตตานีมีจำนวน 500 โรงงานวงเงินลงทุน 800 ล้านบาทและคนงานอีก 7,000 คนซึ่งยังไม่นับรวมวิสาหกิจชุมชนที่ทำกิจการต่างๆ เช่น แปรรูปอาหารและได้รับผลกระทบรวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน"
นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม จะยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้กับโรงงานที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมโรงงานฯจะออกประกาศทันทีภายในสัปดาห์หน้า โดยปัจจุบันการคิดค่าธรรมเนียมจะพิจารณาจากขนาดของเครื่องจักร ซึ่งมีตั้งแต่ 100 - 15,000 บาท และจะยกเว้นค่าธรรมเนียมให้กับผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ ไอทีซี ในภาคใต้ รวมถึงได้ประสานกับผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ทุกค่าย เพื่อตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมให้ฟรีและได้ประสานกับสถานีปั๊มน้ำมันปตท. ที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันให้ฟรีกับผู้ประกอบการ ทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ โดยภายในวัน 8 ม.ค.นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะรายงานประเมินสถานการณ์และสรุปความเสียหายทั้งหมดอีกครั้ง