ข่าวทลฉ. จัดระเบียบจองคิวรถบรรทุกลื่นปืด - kachon.com

ทลฉ. จัดระเบียบจองคิวรถบรรทุกลื่นปืด
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ณ อาคารที่ทำการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) รักษาการแทนผู้อำนวยการ กทท. ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือดีป้า ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสมมร์ทซิตี้ (Smart.City) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่่าการกระทรวงคมนาคม ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายสมศักดิ์ ห่มม่วง ประธานกรรมการ (บอร์ด) กทท. ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายไพรินทร์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบการจองคิวรถบรรทุก (Truck Queuing) เพื่อแก้ปัญหาการแออัดของรถบรรทุกบริเวณหน้าท่าเรืออย่างแท้จริง ทั้งนี้ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งมากถึง 7 ล้านทีอียู และจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1 เท่าตัว เมื่อการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เสร็จ จึงมีความจำเป็นต้องนำระบบไอทีเข้ามาสนับสนุนการจัดการซึ่งความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง โดยเฉพาะในส่วนระยะที่ 1 ซึ่งจะเป็นการเข้าไปจัดระบบของคิวรถบรรทุกที่เข้าออกท่าเรือ

อย่างไรก็ตามความร่วมมือดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลการขนส่งหลากหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ของการส่งออกและนำเข้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง บูรณาการข้อมูลสำหรับผู้เกี่ยวข้อง เพิ่มความสะดวก ความคล่องตัวการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ การขนส่งและการจราจร ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ลดปัญหาจราจร ตลอดจนผลักดันนโยบายการบริหารจัดการใช้งานจองคิวรถบรรทุก และให้มีการชำระค่าบริการผ่านระบบ Smart Port ทำให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่การขนส่งสินค้าในอีอีซี และประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นแนวทางดีที่สุดในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้ติดอันดับท้อปเท็นท่าเรือโลก



ด้าน ดร.พิเชษฐ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการส่งเสริมท่าเรืออัจฉริยะ ที่จะช่วยจัดระเบียบรถบรรทุกที่เข้าออกท่าเรือ ลดมลพิษ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้เกิดการขยายตัวการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปต่อยอดเมืองอัจฉริยะในอีอีซี โดยรัฐบาลจะร่วมกับภาคเอกชนขยายโครงการดังกล่าวไปยังพื้นที่อื่นในอีอีซี โดยกระทรวงดิจิทัลฯ จะผลัดดันให้เกิดโครงการสมาร์ท คอมมูนิตี้ คือ การไม่ทิ้งประชาชนไว้ข้างหลัง เพื่อพัฒนาให้ประชาชนในอีอีซีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันจะร่วมมือกับภาคเอกชนจัดทำสมาร์ท เมนูแฟคทอรี่ และสมาร์ท เอ็นวิยเม้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเข้มแข็งให้ประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการดังกล่าวจะทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดในการดูแลและให้บริการประชาชน และอำนวยคามสะดวกในภาคธุรกิจ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ไทยก้าวไปสู่ความเจริญเป็นไทยแลนด์ 4.0 หรือ 5.0 ได้อย่างแท้จริง สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการดังกล่าวะเป็นการลงทุนระหว่างดีป้า 50 ล้านบาทและภาคเอกชนรวมตัวลงทุนอีก 50 ล้านบาท โดยใช้เวลา 1 ปีจะเห็นผลและนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะที่ ร้อยตำรวจตรี มนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทลฉ. ดำเนินการจัดระเบียบการจองคิวรถบรรทุกมาแล้ว 1 ปี แต่ยังไม่ได้ผลและไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ซึ่งเข้ามาใช้ระบบจองคิวเพียงแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นความร่วมมิดังกล่าวจะเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่าเรืออัจฉริยะ และผลักดันให้มีการใช้งานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ลดปัญหาจราจร ปัญหามลภาวะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณรถหัวลาก เที่ยวเปล่าที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจอย่างต่ำ 1,000 ล้านบาทต่อปี และเกิดผลกระทบเชิงบวกทางสังคมอย่างต่ำ 700 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ดีป้าจะเข้ามาเก็บข้อมูลที่ทลฉ.เพื่อนำไปดำเนินการพัฒนาระบบจองคิวให้เมหาะสมกับสถานการณ์ต่อไป