เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 18 ม.ค.62 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเวที
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่
อการขยายต่อยอด โครงการเครือข่
ายเยาวชนปฏิบัติการเพิ่
มความปลอดภัยทางถนนจากสถานศึ
กษาสู่ชุมชนยัวส์เน็ตเวิร์ก (YOURS Network) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนิ
นงานในพื้นที่นำร่องสำหรั
บขยายผลในอนาคต มุ่งสร้างแกนนำเยาวชนและเครือข่
ายด้านความปลอดภัยทางถนนระดับพื้
นที่ทั่วประเทศ
นายกมล เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อความปลอดภั
ยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักด้
านความปลอดภัยทางถนน พัฒนาให้เกิดแกนนำเยาวชนและเครื
อข่ายด้านความปลอดภัยทางถนนระดั
บพื้นที่ และมีบทบาทเป็นผู้นำด้
านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
จราจรภายในและภายนอกโรงเรียน มีบทบาทช่วยเหลือเจ้าหน้
าที่
ตำรวจจราจรอำนวยความสะดวกบ
ริเวณหน้าโรงเรียนและในโรงเรียน อีกทั้งช่วยเหลือครู-
อาจารย์ จัดระเบี
ยบการจราจรในโรงเรียน และขยายผลไปยังเพื่อนนักเรี
ยนให้มีวินัยจราจรใช้รถใช้
ถนน และขับขี่รถอย่างปลอดภัย โดยได้นำร่องในสำนั
กงานขนส่งจังหวัด 5 พื้นที่ ได้แก่ จันทบุรี สงขลา ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และสระแก้ว สำหรับจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรี
ยนรู้ เพื่อขยายต่
อยอดโครงการเครือข่ายเยาวชนปฏิ
บัติการ เพิ่มความปลอดภั
ยทางถนนจากสถานศึกษาสู่ชุมชน “YOURS Network” ได้เลือกสำนักงานขนส่งจังหวัดจั
นทบุรีและสำนักงานขนส่งจังหวั
ดสงขลา เป็นภาพแทนพื้นที่เพื่อถอดบทเรี
ยนการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จ
นายกมล กล่าวต่อว่า รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะรูปแบบที่เป็
นประโยชน์ต่อการขยายโครงการในจั
งหวัด โดยมีเป้าหมาย คือ 1.ได้รูปแบบและแนวทางการดำเนิ
นงานที่เหมาะสมและปรั
บเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็
กและเยาวชนได้จริง 2.ได้แนวทางการพัฒนาโครงการเครื
อข่ายยาวชนปฏิบัติการเพิ่
มความปลอดภัยทางถนนจากสถานศึ
กษาสู่ชุมชน “YOURS Network” และข้อเสนอแนะสำหรับสนับสนุ
นโครงการต่อไป 3.เจ้าหน้าที่ ขบ. ตระหนักและเห็นความสำคั
ญของโครงการเครือข่ายเยาวชนปฏิ
บัติการเพิ่มความปลอดภั
ยทางถนนจากสถานศึกษาสู่ชุมชน “YOURS Network” และเข้าใจแนวทางการดำเนิ
นโครงการฯ เพื่อนำไปสู่ตัดสินใจร่
วมขยายผลโครงการฯ ต่อไปให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
นายกมล กล่าวอีกว่า สำหรับ จ.จันทบุรี
สามารถแสดงภาพแทนของบริบทพื้นที่
ภาคตะวันออกที่มีปัญหาเรื่
องการเดินทางไปโรงเรียนของเด็
กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ทำให้เด็กนักเรียนต้องใช้รถจั
กรยานยนต์ในการเดินทางและเกิดอุ
บัติเหตุเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชี
วิตในกลุ่มเด็กและเยาวชน ขณะที่ จ.สงขลาสามารถเป็
นภาพแทนของบริบทพื้นที่ภาคใต้ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว และเป็นทางผ่านเพื่อเชื่อมต่
อไปยังจังหวัดที่เป็นสถานที่ท่
องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ทำให้มีปริมาณการจราจรค่อนข้
างสูง ส่งผลต่อจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ
ในพื้นที่ ปี 2559 ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 5,247 ครั้ง โดยกลุ่มผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่
เป็นนักเรียนและนักศึกษา
ทั้งนี้ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากองค์
การอนามัยโลกให้เป็นประเทศที่มี
ผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศลิเบีย ด้วยอัตราการเสียชีวิต 36.2 ราย ต่อประชากรแสนคน หรือปีละ 24,237 ราย หากพิจารณาจากข้อมูลมรณบัตรปี 2554-2557 พบว่า กลุ่มเยาวชน อายุ 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้เสียชีวิ
ตสูงสุด เฉลี่ยปีละ 1,688 ราย โดยเฉพาะหากนับรวมกลุ่มอายุ 0-14 ปี พบว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตในกลุ่มอายุ 0-19 ปี เฉลี่ยปีละ 2,509 ราย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและภาคี
เครือข่ายด้านความปลอดภั
ยทางถนนจึงจำเป็นต้องให้
ความสำคัญกับการเสริมด้
านความปลอดภัยทางถนนกับเด็
กและเยาวชน