ข่าวจับตาหนี้ภาคธุรกิจจีนเสี่ยงลดการจ้างงานในอนาคต - kachon.com

จับตาหนี้ภาคธุรกิจจีนเสี่ยงลดการจ้างงานในอนาคต
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2562 เผชิญปัจจัยลบมากขึ้น  คาดว่าจีดีพีเติบโต 6.2% ในกรอบ 6-6.4% จากปี 61 เติบโต 6.6% โดยโมเมนตัมของเศรษฐกิจจีนให้สัญญาอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาส4/61 ที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 6.4% เป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี จากประเด็นทางด้านสงครามการค้าที่ยังไม่มีความแน่นอน พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 61  ซึ่ง ทางการจีนคงเผชิญโจทย์ที่ท้าทายในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ตลอดจนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

สำหรับภาค ต่างประเทศ   การส่งออกของจีนน่าจะชะลอสู่ระดับ 3-5%  ในปีนี้ เทียบกับการขยายตัว 9.9%  ในปีที่ผ่านมา และจะส่งผ่านผลกระทบไปยังการลงทุนของภาคเอกชนของจีน ชะลอลงตาม จากแรงกดดันของคำสั่งซื้อที่ชะลอลง กอปรกับภาระหนี้ภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง คาดว่า ทางการจีนน่าจะยังคงนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง   

ส่วนประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความไม่แน่นอน และกดดันให้เศรษฐกิจจีนชะลอลงต่อในระยะต่อไป ขณะที่ การเจรจาในการบรรลุข้อตกลงการค้า ระหว่างจีนและสหรัฐฯ อาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะได้ข้อสรุป  แม้ว่าจีนและสหรัฐฯ จะมีความ พยายามในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงทางการค้าให้ทันในวันที่ 2 มี.ค. 62 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทาง ลบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ จากระดับ 10%  สู่ระดับ 25%  

รวมทั้งความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติม แต่โอกาสไม่มากนักที่จีนและสหรัฐฯ จะบรรลุ ข้อตกลงการค้าในระยะสั้น เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการเจรจามีความซับซ้อนมากกว่าประเด็นทางการค้า อย่างไรก็ดี คาดว่าด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐฯ และจีน ที่จะเผชิญแรงกดดันมากขึ้นในปีนี้ ทำให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงกันได้ภายในปีนี้

นอกจากนี้ ระดับหนี้ของจีนแตะระดับสูงสุดใหม่ โดยเฉพาะหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มตัวเร่งขึ้นอีกครั้ง อาจเพิ่มความท้าทายในทางการจีนในการดูแลเสถยีรภาพของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า  ซึ่งระดับหนี้โดยรวมของประเทศจีนในช่วงไตรมาส 3/ 61ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี หลัก ๆ จากการ เร่งขึ้นของหนี้ภาคธุรกิจ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ทั้งที่เศรษฐกิจชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 61 โดย สัดส่วนของหนี้ภาคธุรกิจของจีนเพิ่มขึ้นเกือบ 10%  ของจีดีพีจากระดับ 149.6 %  ของจีดีพี ณ ไตรมาส 3/60 เป็นระดับ 157.1 % ของจีดีพีไตรมาส 3/ 61 ขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 48 %  ของจีดีพีไตรมาส 3/ 60 เป็นระดับ 51%  ของจีดีพีไตรมาส 3/61
 
 ทั้งนี้ คงต้องจับตา สถานการณ์หนี้ภาคธุรกิจจีนอย่างใกล้ชิดในปีนี้  เนื่องการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้ดังกล่าวจะยิ่งเป็นแรง กดดันต่อภาระหนี้ภาคธุรกิจให้เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการเติบโตของผลกำไรของภาคธุรกิจที่ลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ สภาพคล่องของภาคธุรกิจที่คงจะเป็นประเด็นมากขึ้นในปีนี้อาจจะเป็นปัจจัยกดดันให้ธุรกิจไม่มีการลงทุน รวมไปถึงความเสี่ยงในการลดการจ้างงานในระยะข้างหน้า

ส่วนมาตรการด้านการคลัง โดยเฉพาะการปรับลดภาษีคงเป็นเครื่องมือหลักที่ทางการจีนใช้สนับสนุน การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้  เนื่องจากภาคครัวเรือนจีนยังมีศักยภาพในการใช้จ่ายและไม่ได้รับ ผลกระทบโดยตรงจากข้อพิพาททางการค้า ทำให้ทางการจีนคงเลือกที่จะออกมาตรการสนับสนุนภาคการ บริโภคเพิ่มเติม ผ่านมาตรการปรับลดภาษีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาและการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม อันเป็นการเพิ่มระดับรายได้แท้จริงของครัวเรือนและจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มพบบาทของรัฐบาลท้องถิ่นในการขับเคลื่อนแรงกระตุ้นทางการคลัง ผ่านการ ผ่อนคลายโควต้าในการระดมทุนในรัฐบาลท้องถิ่นที่ถูกจำกัดในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งเร่งกระบวนการร่วม ลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวน่าจะช่วยให้รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนไม่ให้ ชะลอลงอย่างรวดเร็วจนเกินไป

มาตรการผ่อนคลายทางการเงินผ่านการอัดฉีดสภาพคล่องจะยังคงเป็งนไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อ รักษาต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจให้คงที่ ทั้งนี้ ทางการจีนคงจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของ ธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมากขึ้น อย่างไรก็ดี ทางการจีนน่าจะยังคงหลีกเลี่ยงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากอาจสร้างแรงกดดันต่อการอ่อนค่าของเงินหยวน และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบ การเงินจีนในระยะยาวแม้ว่าการชะลอลงของระดับเงินเฟ้อและดัชนีราคาผู้ผลิตคงเป็นตัวบ่งชี้ถึงช่องว่างใน การดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ยังเหลืออยู่ก็ตาม