ทิสโก้ผนึกกรุงเทพฯบุกตลาดประกันผู้สูงอายุ
เศรษฐกิจ
สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ PA อาม่า คือ เป็นแผนความคุ้มครองที่ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลชีวิตและการรักษาพยาบาล การชดเชยรายได้ ค่ารถเข็นผู้ป่วย และยังมีสิทธิพิเศษพยาบาลดูแลช่วงพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาลถึงบ้าน (Nursing at Home) ต่อเนื่องสูงสุดถึง 7 ครั้งต่อการเข้าพักรักษา (กรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 48 ชั่วโมง หรือ ICU หรือ ผ่าตัด)
ทั้งนี้มีความคุ้มครองให้เลือก 4 แผน ตั้งแต่ 15,000 บาท ถึง 80,000 บาทต่อครั้ง พร้อมเงินชดเชยรายได้ระหว่างเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต่อวัน (สูงสุด 365 วัน) ตั้งแต่ 500 บาท ถึง 2,000 บาท รวมถึงมีเงินชดเชยการรักษาพยาบาลระยะยาวกรณีทุพลภาพถาวรสิ้นเชิงต่อเดือนตั้งแต่ 1,500 บาท ถึง 5,000 บาท เป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน พร้อมผลประโยชน์กรณีทุพลภาพถาวรสิ้นเชิงสูงสุดถึง 800,000 บาท มีค่ารถเข็นผู้ป่วยอีก 5,000 บาทต่อครั้ง รับประกันอายุตั้งแต่ 55 ปี สูงสุดถึง 100 ปี
ส่วนค่าเบี้ยประกันภัยคงที่ไม่ปรับตามอายุ เริ่มต้นเพียง 3,180 บาทต่อปี ไม่ต้องตรวจและตอบคำถามสุขภาพ และไม่ต้องสำรองจ่าย ทั้งหมดถูกออกแบบมาให้คุ้มครองลูกค้าเพื่อให้สอดรับกับสังคมสูงอายุในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจประชากรไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 60 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 10 ล้านคน คิดเป็น 15% ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีจำนวนประมาณ 66 ล้านคน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 50-60) และยังมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ข้อมูลจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวธส.) เผย 3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้สูงอายุ“พิการ-เสียชีวิต” ได้แก่ หกล้ม อุบัติเหตุจากวัตถุต่างๆ เช่นของมีคม และการขับขี่จักรยานยนต์ และเมื่อดูข้อมูลอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มในผู้สูงอายุต่อประชากรแสนคน พบว่าผู้สูงอายุที่อายุเพิ่มมากขึ้นมีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มมากถึง 5 เท่า ดังนั้น การทำประกันอุบัติเหตุจึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุในการดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการดูแลชีวิตและค่ารักษาพยาบาล