กนง.คงดอกเบี้ยต่อ จับตาค่าบาท-หนี้ครัวเรือนสูง
เศรษฐกิจ
นอกจากนี้กนง.จะติดตามเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด หลังจากปัจจุบันมีแนวโน้มผันผวนจากความไม่แน่นอนในต่างประเทศ เช่น การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร(เบร็กซิท) และสงครามการค้าสหรัฐและจีน เป็นต้น ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วผิดปกติจนไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและกระทบกับการปรับตัวของภาคธุรกิจ ทางธปท.ก็พร้อมที่จะใช้เครื่องมือดูแล
“นับตั้งแต่ต้นปีนี้ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินตลาดเกิดใหม่อื่น ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะการที่ธนาคารกลางสหรัฐ ยังดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ต้นปี ยังคงอยู่ในระดับกลางๆเมื่อเทียบกับสกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ ทำให้อาจมีความเข้าใจว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ในครั้งก่อนส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าและทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ข้อเท็จจริงจากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ต้นปีไทยมีเงินทุนไหลออกมากกว่าไหลเข้า”
ขณะเดียวกันกนง.ยังเป็นห่วงเรื่องเสถียรภาพระบบการเงิน โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 61 อยู่ที่ 77.7% มาอยู่ที่ 77.8% ในไตรมาส 3 ปี 61 ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรถยนต์ที่ขยายตัวสูง ซึ่งจะต้องติดตามข้อมูลก่อนจะพิจารณาออกมาตรการควบคุม และยังเป็นห่วงสินเชื่อกลุ่มที่อยู่อาศัย สหกรณ์ออมทรัพย์ และธุรกิจขนาดใหญ่อีกด้วย