ลุยเก็บ'ภาษีน้ำหวาน'รอบสอง เริ่มต.ค.รีด1-5บาทต่อลิตร
เศรษฐกิจ
"ตอนนี้เครื่องดื่มน้ำอัดลมบางส่วนก็มีการปรับสูตรกรผลิตลดน้ำตาลจาก 14 กรัมต่อลิตร เหลือ 12 กรัมต่อลิตร เพื่อเสียภาษีให้ต่ำลง ส่วนน้ำอัดลมสีดำยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสูตร เพราะเป็นตลาดใหญ่ของผู้บริโภค หากปรับไปเกรงว่าจะทำให้รสชาติเปลี่ยนและกระทบต่อยอดขาย ส่วนน้ำอัดลมสีที่สัดส่วนตลาดมีน้อยก็มีการเปลี่ยนสูตรลดน้ำตาล ซึ่งไม่กระทบกับยอดขาย"
นายพชร กล่าวว่า กฎหมายสรรพสามิตใหม่ปี 60 ยังได้มีการแก้ไขเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมพืชทางการเกษตรไม่ต่ำกว่า 10% ได้ยกเว้นภาษีสรรพสามิต เพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 20% ถึงจะได้ลดภาษีเพื่อให้มีการช่วยเหลือเกษตรการอย่างแท้จริงมากขึ้น
ทั้งนี้ กฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตความหวาน กำหนดว่า ตั้งแต่กฎหมายสรรพสามิตมีผลบังคับใช้วันทที่ 16 ก.ย. 60 ถึง 30 ก.ย. 62 ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เว้นการเก็บภาษี ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 6 กรัม แต่ไม่เกิน 8 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 0.10 บาทต่อลิตร ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 กรัมแต่ไม่เกิน 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 0.30 บาทต่อลิตร ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 0.50 บาทต่อลิตร และที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
ส่วนอัตราภาษีใหม่ นับตั้งแต่ 1 ต.ค. 62 ถึง 30 ก.ย. 64 เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัมต่อมิลลิลิตร เก็บเท่าเดิม แต่ถ้ามี 10-14 กรัม เก็บเพิ่มเป็น 1 บาท ถ้าเกิน 14-18 กรัม แตกรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และมีปริมาณน้ำตาลเกิน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร
สำหรับช่วงวันที่ 1 ต.ค. 64 -30 ก.ย 66 เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำกว่า 6 กรัม ต่อมิลลิลิตรเว้นภาษี น้ำตาลผสม 6-8 กรัม เสีย 0.30 บาท น้ำตาลผสมเกิน 8 กรัม แต่ไม่เกิน 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัมแต่ไม่เกิน 14 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และ ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร
ขณะที่ตั้งแต่ 1 ต.ค.66 เป็นต้นไป ครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ 6 กรัมเว้นภาษี แต่ถ้าน้ำตาลผสมเกิน 6 กรัม แต่ไม่เกิน 8 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 กรัม แต่ไม่เกิน 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัมต่อลิตร เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร