ต่างชาติมองเอาท์ลุค เลือกตั้งไทยดี ดึงดูดเงินลงทุน
เศรษฐกิจ
นอกจากนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันปรับตัวลง โดยราคาน้ำมับดิบเบรนท์จากเดิมราคาเฉลี่ย 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตอนนี้ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และถ้าน้ำมันลงอีกจะเห็นดุลการค้าเกินดุลและทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งในช่วงเดือน 1-4 ข้างหน้า คาดว่าเงินบาทยังแข็งหากผลการเมืองออกมาเรียบร้อย และไม่มีปัญหาทางการเมืองตามมาในระยะยาวเห็นค่าเงินบาทแข็งค่าอีก และสิ้นปีนี้คาดว่าเงินบาทแตะระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าต้องดูภาพรวมเศรษฐกิจประกอบไปด้วยแนวโน้มแข็งค่าต้องประกันกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนส่งออกปีนี้ยากลำบากไม่แพ้ปี 60 ที่ค่าเงินแข็งค่า 10% ผู้ประกอบการที่ไม่ทำประกันความเสี่ยงได้รับผลกระทบไปเต็ม ดังนั้นถ้าปัจจัยในประเทศ และปัจจัยนอกประเทศเกิดขึ้นภาครัฐจะไม่สามารถเข้ามาช่วยไม่ได้มากผู้ประกอบการต้องพึ่งตนเองและประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือ หรือหาตลาดส่งออกใหม่หรือสกุลซื้อขายท้องถิ่น(เอเชีย อาเซียน) เพราะเราไม่ได้ค้าขายจากสหรัฐฯเพียงอย่างเดียวเพื่อลดความผันผวนค่าเงินได้มาก
อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทสอดคล้องภูมิภาค แต่เหตุการณ์เศรษฐกิจต่างกัน ซึ่งปีนี้หลายประเทศเลือกตั้งแต่ประเทศไทยเกิดขึ้นก่อน แต่ถ้านักลงทุนอยากเข้ามาลงทุน หรือเก็งกำไร หรือประเทศไหนมีเอาท์ลุคดีกว่าก็เข้ามาลงทุน เช่น ไทย จะเห็นได้จากค่าเงินบาทแข็งค่า แต่ในช่วงกลางปีอินเดีย และอินโดนีเซียจะมีเลือกตั้งจะส่งผลให้ค่าเงินเอเชียปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยในส่วนของค่าเงินบาทการแข็งค่าอาจเกิดขึ้นได้ลึกกว่านี้ และอาจแข็งค่าแตะระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการอ่อนค่ากลับขึ้นไปเร็วเช่นกันมองกรอบ 31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 4 เดือนข้างหน้า
"ปัจจัยต่างประเทศที่มีผลมากสุดและเซอร์ไพร์สนักวิเคราะห์ทั้งตลาดคือ นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จากรายงานกางานการประชุมล่าสุด และการให้สัมภาษณ์เฟด คงไม่ขึ้นดอกเบี้ยครึ่งปีแรกทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้นได้ ขณะที่การเจรจาสงครามทางการค้าเริ่มคืบหน้าขึ้น คาดว่าปลายเดือนก.พ.จะใช้กำแพงภาษีตอบโต้กันไป แต่คาดว่าหลังมี.ค.การเจรจาการค้าจะสามารถจบลงได้และเป็นบวกต่อสกุลเงินเอเชียและค่าเงินบาท"