ข่าวเอกชนห่วงบาทแข็งฉุดรายได้ส่งออกวูบ - kachon.com

เอกชนห่วงบาทแข็งฉุดรายได้ส่งออกวูบ
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s
น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)  เปิดเผยว่า ส่งออกปีนี้ขยายตัว 5%  บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33   บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญจากความผันผวนของบรรยากาศการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า เบร็กซิทt  และความไม่สงบระหว่างประเทศอินเดียและปากีสถาน ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อภาคการส่งออกและการขนส่งสินค้าทางอากาศ

ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการเสนอราคา มาตรการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ และความล่าช้าในการเจรจาการค้าเสรีและการต่อรองสิทธิพิเศษทางด้านภาษีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น การเจรจาระหว่างสหภาพยุโรป (อยู) และไทย ขณะที่เวียดนามกำลังจะทำ เอฟทีเอ เวียดนาม- อียู และข้อกฎหมายภายในประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก รวมทั้งการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) จากประเทศญี่ปุ่นภายเดือนเม.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไทยถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีจากทั้งอเมริกาและยุโรป   ดังนั้นภาครัฐควรเร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มขึ้น  เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปกลุ่มประเทศคู่ค้าที่เริ่มทยอยตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น ไทย-อียู ไทย-สหราชอาณาจักร RCEP และ CPTPP เป็นต้น

ทั้งนี้ สรท.เสนอแนะรัฐบาลใหม่ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้แข็งค่าสูงกว่าคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ ขณะที่ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมเร่งเปิดตลาดใหม่ทดแทน เพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณถดถอยและความไม่แน่นอนของสงครามทางการค้า การหาตลาดใหม่จะช่วยกระจายความเสี่ยงและหาตลาดรองรับสินค้า หรือการเปิดกลุ่มผู้บริโภครายใหม่ให้เหมาะสมแต่ละกลุ่มสินค้า

นอกจากนี้ภาครัฐควรเร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากไทยเริ่มถูกปฏิเสธในการใช้สิทธิ์จีเอสพี อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสหรัฐ อียู ญี่ปุ่น ซึ่งการเจรจาเอฟทีเอถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปกลุ่มประเทศคู่ค้าที่เริ่มทยอยตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น ไทย-อียู ไทย-สหราชอาณาจักร RCEP และ CPTPP เป็นต้น

สำหรับการส่งออกเดือนม.ค.62 มีมูลค่า 18,994 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 5.7%  เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  การนำเข้าม.ค.62  อยู่ที่  23,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้14% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 4,032 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 140,561 ล้านบาท  โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 2.9% กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.9 %  ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป)