ข่าวรฟท.เลื่อนนัดซีพีชี้ชะตา'รถไฟไฮสปีด'เชื่อม3สนามบิน - kachon.com

รฟท.เลื่อนนัดซีพีชี้ชะตา'รถไฟไฮสปีด'เชื่อม3สนามบิน
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.กล่าวว่าหลังคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มีมติไม่รับข้อเสนอนอกเหนือจากข้อเสนอร่วมลงทุน REF ของกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางการรถไฟได้ส่งหนังสือเชิญทางเอกชนเข้ามาเจรจาอีกครั้งว่าจะเดินหน้า หรือ ยุติการเจรจรา

ล่าสุด ร.ฟ.ท.จะเลื่อนการเจรจากับเอกชนเป็นวันที่ 19 มี.ค.นี้แทน เนื่องจากหน่วยงานราชการหลายแห่งติดประชุมงบประมาณ ประจำปี 2563 และจะไม่มีการเลื่อนเจรจากับ กิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพีอีกแล้ว โดยคณะกรรมการยืนยัน มติเดิมที่จะไม่รับ TOR ที่ขัดมติคณะรัฐมนตรีแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระแสสังคมตั้งข้อสังเกตถึง การเจรจาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ดูเหมือนกระแสจะเร่งรีบกดดันให้กลุ่มซีพีจบการเจรจา ทั้งที่หลายประเด็นการรถไฟยังไม่ตอบ เพียงแต่ย้ำว่าการรถไฟจะไม่รับเงื่อนไขใดๆ นอกทีโออาร์เพราะหวั่นรัฐเสียประโยชน์ แต่จะเปลี่ยนไปเรียกกลุ่มบีทีเอสมาเจรจา จนกระแสสังคมต้องตั้งคำถามว่า สิ่งที่รัฐกำลังจะทำ ทำให้รัฐเสียประโยชน์จริงหรือไม่  โดยมีการวิเคราะห์ออกมาเป็นดังนี้

1. ซีพีไม่เคยยื่นตัวเลข 117,200 ล้านบาท และ บีทีเอส ไม่เคยยื่นตัวเลข 169,000 ล้านบาท แต่มีบุคคลปริศนา เอาตัวเลขที่เอกชนขอรัฐสนับสนุนเท่ากันปีที่ 6-15  นำมาคิดมูลค่าปัจจุบันเอง โดยใช้ตัวเลขดอกเบี้ย Discount rate 2.375% ซึ่งดอกเบี้ยอัตรานี้ ไม่มีธนาคารที่ไหนปล่อยให้เอกชนกู้ แต่ถ้าคิดอัตรานี้ จะเท่ากับบีทีเอสขอรัฐสนับสนุน 187,100 ล้านบาท (ไม่ใช่ 169,000 ล้านบาทตามข่าว) ปล่อยตัวเลขผิดแบบนี้ รัฐเสียประโยชน์หรือไม่?

2. หากทำต้นทุนเงินกู้ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง โดยใช้ดอกเบี้ยที่ 5% จะเท่ากับว่า ซีพีขอรัฐสนับสนุนเพียง 90,722 ล้านบาท ในขณะที่ บีทีเอสขอรัฐสนับสนุนสูงถึง 144,508 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสยังถือว่าเสนอเกินกรอบทีโออาร์แต่แรก (ครม อนุมัติเพดานรัฐร่วมลงทุนที่ 119,425 ล้านบาท) การเรียกบีทีเอสมาคุย ทั้งที่เสนอตัวเลขสูงกว่าทีโออาร์แต่แรก รัฐเสียประโยชน์หรือไม่?

3. ในขณะที่เจรจากับซีพี ข้อมูลการเจรจาที่เป็นความลับ ถูกนำมาเสนอข่าวรายวัน ทำไมถึงไม่อนุญาตให้เอกชนเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องเป็นราว แต่กลับมีข้อห้ามเอกชนนำเสนอข้อมูล แต่ปล่อยให้เกิดข่าวลือจากห้องเจรจา ทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุนไปรายวัน แบบนี้รัฐเสียหายหรือไม่

4. การที่ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่เกินอำนาจกรรมการพิจารณา แต่ไม่ส่งต่อไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณา เลือกไม่รับตั้งแต่แรกเพียงอ้างตัวอักษร ถือว่าประเทศชาติเสียประโยชน์หรือไม่

5. การรถไฟยังไม่ตอบคำถามหลายข้อจากห้องเจรจา แต่จะเร่งรีบปัดตก และเชิญรายที่สองมาเจรจา หากรีบสรุปแล้วมีปัญหาที่หลัง ดำเนินโครงการไม่สำเร็จ รัฐเสียประโยชน์หรือไม่

6. การเจรจารัฐบอกซีพีห้ามเปลี่ยนตัวเลขที่เสนอมา เพราะจะยึดเงินประกัน แต่ในขณะเดียวกันบอกจะเรียกบีทีเอสมาเจรจาขอลดตัวเลขที่บีทีเอสเสนอมา ผิดทีโออาร์เสียเอง แบบนี้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่

7. เงื่อนไขซีพี รัฐได้ประโยชน์ หรือ เสียประโยชน์ สรุปคือ ซีพีเสนอขอรัฐสนับสนุนที่ 90,722 ล้านบาท และขอให้รัฐเอาเงินส่วนที่ตำ่กว่ากรอบครมอนุมัติอยู่ 28,703 ล้านบาท มาตั้งกองทุนสำรองเงินกรณีฉุกเฉิน (Contingent Fund) จำนวน 28,000 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงโครงการ หากโครงการไม่ประสบปัญหาทางการเงิน กองทุนนี้ก็ไม่ต้องมาช่วยเหลือโครงการ ซึ่งรวมเงินที่ซีพีเสนอ รวมกับกองทุนสำรองของรัฐกรณีฉุกเฉิน ก็ยังต่ำกว่า กรอบครมอนุมัติที่ 119,425 ล้านบาทอยู่ดี แต่กรรมการเลือกที่จะเรียกรายที่เสนอสูงกว่าหลายหมื่นล้านมาเจรจา อย่างนี้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่.