เผยแบบ4 สถานีรถไฟความเร็วสูงเสร็จแล้ว
เศรษฐกิจ
สำหรับ4สถานีที่ต้องก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น เนื่องจากสถานีเดิมมีสภาพเก่าไม่สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้จึงต้องออกแบบใหม่ รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรูปแบบสถานีรถไฟทางไกลอยุธยาจะมีลักษณะเดียวกับสถานีรถไฟ บางซื่อซึ่งเป็นสถานีรวมกันระหว่างรถไฟ 3 ระบบทั้งรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงสำหรับสถานีจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นชานชาลารถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ชั้นที่ 2เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย และชั้นที่ 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้การออกแบบสถานีใหม่นั้นจะสร้างในเขตพื้นที่สถานีเดิมทั้งหมดคร่อมสถานีรถไฟอยุธยาโดยยังอนุรักษ์อาคารเก่าไว้ ด้วยความร่วมสมัยกับการก่อสร้างใหม่ให้กลมกลืนระหว่างสถานปัยตกรรมเก่ากับใหม่ภายในสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวกบันไดเลื่อนและร้านค้าเชิงพาณิชย์บริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งสถานีจะเชื่อมกับแม่น้ำป่าสักซึ่งจะมีท่าน้ำเพื่อเชื่อมโยงกับเรือโดยสารภายในแม่น้ำเชื่อมโยงธรรมชาติและวิถีชีวิตผู้คนในท้องถิ่นด้วย
ส่วนสถานีรถไฟนครราชสีมา หรือ(โคราช)ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ มีรถไฟใช้บริการทั้ง 2ระบบ คือรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี3ชั้น ชั้นที่ 1โถงพักรอคอย และทางเข้าอาคาร ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลารถไฟทางไกลชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง สถานที่ตั้งสถานีใหม่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานีเดิมจะก่อสร้างเยื้องไปทางชุมทางถนนจิระประมาณ 160เมตรและมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเล็กน้อย สำหรับสถานีรถไฟสระบุรีและปากช่องใช้รูปแบบเดียวกัน แต่จะอยู่ในพื้นที่ใหม่สถานีสระบุรีอยู่ฝั่งตรงข้ามศูนย์การค้าโรบินสัน ถนนเลี่ยงเมือง ห่างจากสถานีเดิม 3กม.และสถานีปากช่อง สร้างบนที่ราชพัสดุปัจจุบันเป็นกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2ของกองทัพบก
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า การออกแบบสถานีได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากสภาสถาปนิก และประชาชนในพื้นที่โดยเตรียมประกวดราคาแล้ว ทั้ง4สถานีนี้บรรจุในสัญญาก่อสร้างที่เหลือ 12 สัญญา จาก14สัญญาแบ่งเป็น 5สัญญาช่วงแรกกำลังอยู่ในกระบวนการอีบิดดิ้งอีก7ช่วงสัปดาห์หน้าคาดว่าจะเริ่มประกาศประชาพิจารณ์ร่างขอบเขตการประมูลหรือโออาร์ได้