ซีไอเอ็มบีไทยเสิร์ฟดอกเบี้ยพิเศษลูกค้าเครดิตดี
เศรษฐกิจ
"การรีไฟแนนซ์นั้นขึ้นกับสภาพคล่องทางการเงินในช่วงนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร โดยตลาดมีมูลค่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งการรีไฟแนนซ์ได้ก็ต่อเมื่อหนี้เกิน 3 ปี ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าจากสถาบันการเงินอื่นที่ขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารมีประมาณ 50% สำหรับการนำเอไอมาใช้วิเคราะห์การให้สินเชื่อถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และกำลังดำเนินการอยู่คาดว่าจะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้"
ส่วนการพิจารณาเรื่องการปล่อยกู้นั้น เน้นเรื่องรายได้ต่อการซื้อบ้าน เช่น การผ่อนบ้านต้องไม่ควร 35-40% ของรายได้ เช่น เงินเดือน 50,000 บาทกู้บ้านได้ราคา 3-3.5 ล้านบาท เป็นต้น และในอนาคตจะใช้เครื่องมือเครดิตสกอริ่งในการประเมินลูกค้าขอสินเชื่อมากขึ้น
" ปกติลูกค้าที่รายได้ต่ำซื้อบ้านไม่เกิน 2 ล้านหนี้เอ็นพีแอลจะสูงกว่าปกติ ต่อไปจะน้อยลงจะมีเครื่องมือการวิเคราะห์สินเชื่อมากขึ้น เพื่อให้ผู้ยื่นขอกู้ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพง เพราะปัจจุบันการไม่มีเครื่องมือเราก็จะดูที่เงินเดือนเพียงอย่างเดียวว่า จะมีผลต่อการผิดนัดชำระหนี้ก็จะทำให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่แพง และถ้าต่อไปคัทกรุ๊ปได้โดยใช้เอไอหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็จะได้ดอกเบี้ยถูกลง ส่วนลูกค้าระดับล่างปกติจะมีแบงก์รัฐเข้ามาช่วยดูแลอยู่แล้ว แต่มีอีกกลุ่มที่ไม่มีคนดูแลและเปิดกว้างแต่ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเดียวกันหมดเราพยายามแบ่งประเภทกลุ่มออกมาให้ชัดเจน"
สำหรับส่วนยอดอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกค้าอยู่ที่ 60-70% และปีนี้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 30,000 ล้านบาท เติบโต 30% จากปี 61 สินเชื่ออยู่ที่ 22,000 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 80,000 ล้านบาทและสิ้นปีแตะ 100,000 ล้านบาท
ด้านภาระหนี้ครัวเรือนไม่ได้มีผลต่อลูกค้ากลางและระดับบนมากนัก โดยในส่วนของธนาคารเน้นปล่อยลูกค้าระดับกลางเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป ซื้อบ้านราคาเฉลี่ย 3 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีแคมเปญให้กับคนที่สร้างครอบครัวและพร้อมมีบ้าน หรือนักศึกษาจบใหม่ ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลยังทรงตัวไม่เกิน 3% และปีที่ผ่านมามีการขายเอ็นพีแอลแล้ว 700 ล้านบาท ขณะที่มุมมองต่อการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในประเทศเพิ่มขึ้นก่อให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ