โชห่วยในเมืองใหญ่ส่อสูญพันธุ์ ขาดเงิน-ขาดความรู้สู้ยักษ์ใหญ่
เศรษฐกิจ
“ในการสำรวจความสามารถการแข่งขันของธุรกิจโชห่วยกับคู่แข่งในช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แข่งขันได้น้อย เมื่อเทียบกับการขายออนไลน์ และโมเดิร์นเทรด ทั้งในเรื่องราคาสินค้า บริการ สภาพสินค้า เป็นต้น รวมถึงต้องเผชิญกับพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ขาดประสิทธิภาพด้านการตลาด บัญชี การบริหารจัดการพื้นที่ขายสินค้า ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น และรายได้ลดลง”
นอกจากนี้ยังพบว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการร้านโชห่วย 24.48% ไม่มีการปรับตัวเลย เพราะคิดว่าไม่มีความจำเป็น และมีทุนจำกัด และ 39.77% มีปรับตัวน้อย เพราะบอกว่ามีลูกค้าเก่าอยู่แล้วกับไม่มีทุนจะพัฒนา ส่วน 22.62% ปรับตัวระดับปานกลาง พัฒนาสินค้าและบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า และมีเพียง 13.12% ปรับตัวมากเพื่อจะยกระดับธุรกิจ ปรับเปลี่ยนร้านให้ทันสมัย มีโปรโมชั่นหรือบริการเสริมต่างๆ มีสินค้าหลากหลาย ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเสมอ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ภาพของธุรกิจโชห่วยส่วนใหญ่ยังเป็นการเปิดในห้องแถว ที่พักอาศัยของตัวเอง แต่ต่อไปจะเห็นโชห่วยตั้งในเมืองน้อยลงตามวิถีปและพฤติกรรมของชุมชน จะเหลืออยู่แค่ในอำเภอ ตำบล หมู่บ้านแทน แต่ภาครัฐจำเป็นต้องช่วยสนับสนุนให้โชห่วยคงอยู่ไว้ เพราะเป็นแหล่งค้าขายสำคัญให้สินค้าชุมชน และธุรกิจสตาร์ทอัพนำมาวางขายได้ เนื่องจากสินค้าชุมชนมีโอกาสเข้าไปวางขายร้านโมเดิร์นเทรดยาก