ว้าว!!ผุดสกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าทั่วกรุง
เศรษฐกิจ

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า คณะทำงานพัฒนาและบริหารจัดการโครงข่ายการขนส่งมวลชนระบบรางได้รายงานสถานะโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อพิจารณากำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าและเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 5 สายเช่น สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง, สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูนและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-พญาไท รวมทั้งที่กำลังทยอยก่อสร้างให้ครบอีก 11 สายตามแผนแม่บทก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเฟส1 (M-Map 1) โดยจะเปิดให้บริการครบทั้งหมดปี 68 ซึ่งจะมีสถานีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 300กว่าสถานี หลายสถานีเป็นสถานีร่วมหรือสถานีอยู่ใกล้กันระยะทางไม่เกิน 200 เมตรจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ารวม 53 สถานี

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานีร่วมจะพิจารณาปรับรูปแบบการออกแบบสถานีให้สอดคล้องกันอาทิ ทางขึ้นลงให้สะดวกเชื่อมต่อกันได้ ไม่ต้องเดินลงบันไดแล้วลากกระเป๋าไปขึ้นรถไฟฟ้าอีกสาย หากบางสถานียังไม่เชื่อมกันอาจจะต้องสร้างทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) มีโครงสร้างหลังคาคลุมรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มวัย เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุขณะที่บางสถานีที่มีการเปิดใช้งานไปแล้วต้องพิจารณาเพิ่มสิ่งอำนวยสะดวกให้บริการได้สมบูรณ์แบบขึ้น
ขณะเดียวกันบางครั้งชื่อสถานีสร้างความสับสนให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการเช่น สถานีรามคำแหง ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ขณะที่สถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ชื่อซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นสถานีรามคำแหงของสายสีส้มอาจเปลี่ยนชื่อเป็นสถานี ม.รามคำแหงแทน เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงพอดีและสายสีส้มกำลังก่อสร้างยังไม่เปิดบริการ เพราะสถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดใช้แล้วหากเปลี่ยนชื่ออาจมีปัญหาและเป็นไปได้ยาก เพราะใช้งานมานาน ผู้โดยสารคุ้นชินแล้ว ส่วนสถานีวงเวียนใหญ่ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าใช้ชื่อวงเวียนใหญ่อีก อาจจะเปลี่ยนใช้ชื่อ วงเวียนใหญ่เหนือและวงเวียนใหญ่ใต้แทน เหมือนในประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาแบบนี้ เช่น สถานีชินจูกุจะใช้ชื่อสถานีชินจูกุเหนือ และ ชินจูกุใต้เช่นกัน
นายสราวุธ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังเสนอตั้งรหัสกำกับสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากล เช่น สายสีน้ำเงิน(Blue) จะใช้ตัวย่อBL และสายสีม่วง (Purple) จะใช้ตัวย่อPP แทน เพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจ คาดว่าอีก 2-3เดือนจะได้ข้อสรุปนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบ ก่อนมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการอาทิ การออกแบบป้ายกำหนดชื่อแต่ละสถานี รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขแบบแต่ละสถานีร่วมให้เชื่อมต่อกันด้วย
รายงานข่าว สนข. แจ้งว่าสำหรับสถานีร่วมรถไฟฟ้า 53 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีสยาม 2.เตาปูน3.สวนจตุจักร 4.พญาไท5.แยกอโศก6.แยกศาลาแดง 7.บางหว้า 8.มักกะสัน 9.บางซื่อ 10.บางซ่อน 11.สำโรง12.วงเวียนหลักสี่ 13.มีนบุรี 14.แยกรัชโยธิน 15.แยกลำสาลี 16.กรุงธนบุรี17.ห้าแยกลาดพร้าว 18.แยกรัชดา-ลาดพร้าว 19.ศูนย์วัฒนธรรมฯ 20.ศูนย์ราชการนนทบุรี
21.หัวหมาก 22.หลักสี่ 23.บางเขน 24.ดอนเมือง 25.แยกเกษตร 26.อุดมสุข 27.วัชรพล28.ตลิ่งชัน 29.สะพานพุทธ 30.คลองสาน31.ลาดพร้าว 71 32.ศรีเอี่ยม33.ประดิษฐ์มนูธรรม 34.สามยอด 35.หัวลำโพง 36.สวนลุมพินี 37.วุฒากาศ 38.ราชเทวี39.เพลินจิต40.ทองหล่อ 41.ช่องนนทรี 42.ราชปรารภ 43.รามคำแหง 44.สุวรรณภูมิ45.ศิริราช 46.บางขุนนนท์ 47.เกษตรนวมินทร์48.ประชาสงเคราะห์ 49.ยมราช50.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 51.วงเวียนใหญ่ 52.สามเสน และ 53.แยกราชวิถี

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานีร่วมจะพิจารณาปรับรูปแบบการออกแบบสถานีให้สอดคล้องกันอาทิ ทางขึ้นลงให้สะดวกเชื่อมต่อกันได้ ไม่ต้องเดินลงบันไดแล้วลากกระเป๋าไปขึ้นรถไฟฟ้าอีกสาย หากบางสถานียังไม่เชื่อมกันอาจจะต้องสร้างทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) มีโครงสร้างหลังคาคลุมรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มวัย เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุขณะที่บางสถานีที่มีการเปิดใช้งานไปแล้วต้องพิจารณาเพิ่มสิ่งอำนวยสะดวกให้บริการได้สมบูรณ์แบบขึ้น
ขณะเดียวกันบางครั้งชื่อสถานีสร้างความสับสนให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการเช่น สถานีรามคำแหง ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ขณะที่สถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ชื่อซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นสถานีรามคำแหงของสายสีส้มอาจเปลี่ยนชื่อเป็นสถานี ม.รามคำแหงแทน เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงพอดีและสายสีส้มกำลังก่อสร้างยังไม่เปิดบริการ เพราะสถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดใช้แล้วหากเปลี่ยนชื่ออาจมีปัญหาและเป็นไปได้ยาก เพราะใช้งานมานาน ผู้โดยสารคุ้นชินแล้ว ส่วนสถานีวงเวียนใหญ่ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าใช้ชื่อวงเวียนใหญ่อีก อาจจะเปลี่ยนใช้ชื่อ วงเวียนใหญ่เหนือและวงเวียนใหญ่ใต้แทน เหมือนในประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาแบบนี้ เช่น สถานีชินจูกุจะใช้ชื่อสถานีชินจูกุเหนือ และ ชินจูกุใต้เช่นกัน
นายสราวุธ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังเสนอตั้งรหัสกำกับสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากล เช่น สายสีน้ำเงิน(Blue) จะใช้ตัวย่อBL และสายสีม่วง (Purple) จะใช้ตัวย่อPP แทน เพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจ คาดว่าอีก 2-3เดือนจะได้ข้อสรุปนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบ ก่อนมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการอาทิ การออกแบบป้ายกำหนดชื่อแต่ละสถานี รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขแบบแต่ละสถานีร่วมให้เชื่อมต่อกันด้วย
รายงานข่าว สนข. แจ้งว่าสำหรับสถานีร่วมรถไฟฟ้า 53 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีสยาม 2.เตาปูน3.สวนจตุจักร 4.พญาไท5.แยกอโศก6.แยกศาลาแดง 7.บางหว้า 8.มักกะสัน 9.บางซื่อ 10.บางซ่อน 11.สำโรง12.วงเวียนหลักสี่ 13.มีนบุรี 14.แยกรัชโยธิน 15.แยกลำสาลี 16.กรุงธนบุรี17.ห้าแยกลาดพร้าว 18.แยกรัชดา-ลาดพร้าว 19.ศูนย์วัฒนธรรมฯ 20.ศูนย์ราชการนนทบุรี
21.หัวหมาก 22.หลักสี่ 23.บางเขน 24.ดอนเมือง 25.แยกเกษตร 26.อุดมสุข 27.วัชรพล28.ตลิ่งชัน 29.สะพานพุทธ 30.คลองสาน31.ลาดพร้าว 71 32.ศรีเอี่ยม33.ประดิษฐ์มนูธรรม 34.สามยอด 35.หัวลำโพง 36.สวนลุมพินี 37.วุฒากาศ 38.ราชเทวี39.เพลินจิต40.ทองหล่อ 41.ช่องนนทรี 42.ราชปรารภ 43.รามคำแหง 44.สุวรรณภูมิ45.ศิริราช 46.บางขุนนนท์ 47.เกษตรนวมินทร์48.ประชาสงเคราะห์ 49.ยมราช50.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 51.วงเวียนใหญ่ 52.สามเสน และ 53.แยกราชวิถี