พาณิชย์ปลื้มเอฟทีเอดันยอดส่งออกผลไม้พุ่ง
เศรษฐกิจ
“ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจอาหารเพื่อสุขภาพ มากขึ้น ดังนั้นเพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภคตลาดโลก เกษตรกรควรรักษามาตรฐาน และเน้นผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการตลาด”
ทั้งนี้ยอดการส่งออกผลไม้ไทยในปี 61 มีมูลค่า 2,656 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (85,788 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17.055 โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน รวมมูลค่าการส่งออกผลไม้ไทยไปอาเซียนและจีนมีมูลค่าสูงถึง 2,132 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 80% ของการส่งออกผลไม้ไทยไปตลาดโลก โดยผลไม้ไทยที่กำลังเนื้อหอมคือกลุ่มผลไม้เมืองร้อน เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด เป็นต้น ซึ่งไทยครองความเป็นผู้นำการส่งออกอันดับต้นของโลก
สำหรับเอฟทีเอที่ช่วยให้การส่งออกผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นในปัจจุบันไทยก็ทำกับประเทศต่างๆ จำนวน 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ คือ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และล่าสุดฮ่องกง (อยู่ระหว่างรอการมีผลบังคับใช้) โดยในส่วนของ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู และฮ่องกงได้ยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรของการนำเข้าสินค้าผลไม้สด ผลไม้แช่แข็งและผลไม้แห้งจากไทยแล้ว ขณะที่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สปป. ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ที่ยังเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้าผลไม้บางชนิดจากไทยอยู่ เช่น ญี่ปุ่นเก็บภาษีส้มในอัตรา 4% ,เกาหลีใต้เก็บภาษีมะม่วง 24% ทุเรียน 36% ,อินเดียเก็บภาษีส้ม 5% , มาเลเซีย กัมพูชา และ สปป. ลาวเก็บภาษีมะม่วง มังคุด ทุเรียน ในอัตรา 5% เป็นต้น
“เมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกผลไม้ของไทยสู่ตลาดโลกหลังทำเอฟทีเอกับก่อนทำเอฟทีเอ พบว่า ในปี 61 ไทยส่งออกผลไม้ไปอาเซียน เป็นมูลค่า 1,123 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 6,429% เมื่อเทียบกับปี 35 ก่อนที่สมาชิกอาเซียนจะลดภาษีนำเข้าผลไม้จากไทยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) หรือ ในปี 2561 ไทยมีการส่งออกผลไม้ไปจีน เป็นมูลค่า 1,009 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม2,816% เมื่อเทียบกับปี 45 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าที่จีนยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เป็นต้น”