ข่าวอุตฯหนุนตั้งโรงซ่อม-รีไซเคิลแผงโซลาเซลล์ - kachon.com

อุตฯหนุนตั้งโรงซ่อม-รีไซเคิลแผงโซลาเซลล์
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s
นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้หาแนวทางที่จะลดปัญหามลพิษก่อนกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์    โดยประเทศไทยมีการใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ มาตั้งแต่ปี 2545 และจะหมดอายุการใช้งานใน 20 ปีหลังการติดตั้งใช้งาน (คาดว่าจะทยอยหมดอายุในปี 2565-2601) เป็นซากแผงโซลาร์เซลล์สะสม สูงถึง 6.2 -7.9 แสนตัน แต่ในเชิงคุณภาพแผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังคงผลิตไฟฟ้าได้อยู่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพลดลง  

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม มีแนวคิดสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแผงที่ยังใช้ได้ และสนับสนุนการตั้งโรงงาน รีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับแผงโซลาร์เซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซม เป็นโรงงานลำดับที่ 106 (ประกอบกิจการ เกี่ยวกับการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือ ของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมกากอุตสาหกรรม) 



โดยกำหนดแนวทาง การดำเนินงานไว้ 3 แนวทาง คือ 1.การรับคืนแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุ  2.การเปิดโรงงานรียูสซ่อมแซมแผงโซลาร์เซลล์  และ3.การรับซากแผงโซลาร์เซลล์กลับมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลและมีแนวคิดให้มีการส่งเสริมและ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมแผงโซลาร์เซลล์และโรงงานรีไซเคิล  ซากแผงโซลาร์เซลล์  ซึ่งมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งโรงงานใน 10 จังหวัดปริมณฑลและตามหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค  จังหวัดละ 10 แห่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีโรงงานทั้ง 2 ประเภทรวมกันประมาณ 100 แห่ง และจะทยอยอนุญาตให้จัดตั้งในแต่ละจังหวัดต่อไป

" ต้องมีโรงงานประเภทดังกล่าวจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อรองรับการซ่อมแซมและ  รีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดปัญหาการกำจัดซากแผงโซล่าเซลล์ที่จะเกิดขึ้นได้ถึง 90% คิดเป็น 5.6 - 7.1 แสนตัน  ที่จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต แต่ในปัจจุบันยังไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและควบคุมกำกับดูแล ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จะได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้และหาแนวทางในการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างยั่งยืน"