หวั่นธปท.ออกมาตรการคุมสินเชื่อรถ ฉุดยอดขายวูบ
เศรษฐกิจ
ทั้งนี้มองว่าการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 61 มีผลทำให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ขยับขึ้นมามีสัดส่วนประมาณ 15% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ณ สิ้นปี 61 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่มีสัดส่วนประมาณ 14% ของหนี้ครัวเรือนในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้า ดังนั้น หาก ธปท. จะออกมาตรการดูแลมาตรฐานการปล่อย
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จริง ก็คงจะมุ่งล้อมกรอบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระดับ ครัวเรือนและระดับประเทศในระยะกลางถึงยาวในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ของสินเชื่อเชาซื้อของรถขยับสูงขึ้นมาที่ 1.66% ณ สิ้นปี 61 จำกระดับ 1.60% ณ สิ้่นปี 60 ขณะที่สัดส่วนหนี้เสียของสินเชื่อรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางการเร่งตัวขึ้นของยอดคงค้างสินเชื่อที่ขยายตัวด้วยเลข 2 หลัก และลักษณะเฉพาะของธุรกิจที่สามารถตัดขายหนี้เสียได้เร็วกว่ำสินเชื่อประเภทอื่น ทำให้แม้สัดส่วน NPL ของสินเชื่อเช่ำซื้อรถ อยู่ต่ำกว่ำค่าเฉลี่ยที่ 2.04% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ประเด็นคุณภาพหนี้ยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป
ผลกระทบต่อตลาดรถยนต์และธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในประเทศ ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของมาตรการที่ ธปท.จะเลือกใช้ โดยมาตรการที่จะมีผลกระทบมาก ได้แก่ การกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการวางเงินดาวน์ของผู้ซื้อรถยนต์ เนื่องจากจะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้ำงไปยังทุกสถาบันการเงินทั้งที่มีปัญหาเรื่องดังกล่าว และที่ไม่มีปัญหา (ครั้งล่ำสุดที่มีการบังคับใช้มาตรการลักษณะดังกล่าว คือ ปี 38-39 ที่มีกำหนดอัตราการวาเงินดาวน์ขั้นต่ำ 25% ของราคารถ และผ่อนชำระไม่เกิน 48 งวด)
ขณะที่มาตรการที่่มีผลกระทบน้อยกว่าอยู่ในรุปให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสำหรับสถาบันการเงินที่มีส่วนในปัญหาให้สินเชื่อเกินมูลค่ำหลักประกัน และเตรียมสุ่มตรวจสอบเชิงลึก และให้จัดทำรายงานชี้แจงในกรณีที่ไฟแนนซ์ยอมผ่อนผันเกณฑ์เพื่อให้ดีลเลอร์รถส่งลูกค้าให้ตน อันจะเป็นผลดีต่อระบบโดยช่วยลดการแข่งขันที่รุนแรงและลดความสูญเสียจำกปัญหาหนี้เสียลง
อย่างไรก็ตาม การนำสู่การออกเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้มข้นขึ้นด้วยการวางเงินดาวน์เพิ่มนั้น ควรมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามระดับความสามารถในการชำระหนี้ร่วมด้วยในลักษณะเดียวกับสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลฯ เพื่อให้เกิดควายืดหยุ่นและคล่องตัว สอดคล้องการชำระหนี้้ของลูกค้าแต่ละราย รวมถึงไม่กระทบต่อธุรกิจรถยนต์ทั้งระบบ เนื่องจากเกณฑ์เดียวอาจจะไม่เหมาะกับสภาพตลาดปัจจุบันที่โครงสร้างธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น
ผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้มี 2 กรณีคือ 1. หากธปท.เลือกมาตรการในลักษณะประนีประนอมและมีผลกระทบในวงจำกัด ปัจจัยลบอื่นๆ ที่มีในตลาดอยู่แล้ว เช่น ราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ และควสมไม่แน่นอนทางการเมืองคาดว่าจะทำให้ตลาดรวมอู่ภาวะทรงตัวหรือหดตัวเล็กน้อยที่ 3% คิดเป็นจำนวนรถยนต์ 1.01- 1.04 ล้านคัน จากปี 61 ที่ทำได้ 1.041 ล้านคัน 2. กรณีการตั้งเกณฑ์ขั้่นต่่ำสำหรับการวางเงินดาวน์ของผู้ซื้อรถยนต์อาจอยู่ที่ 20-25% จะมีผลกระทบต่อยอดรถยนต์ในประเทศหดตัวลงในกรอบ 2-5% และ 3-6%
"แม้พฤติกรรมการให้สินเชื่อเช่ำซื้อรถยนต์ใหม่ที่ลูกค้าไม่ต้องใช้เงินออมของตนเอง จะไม่ได้ปรากฏในวงกว้างและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทั้ง Captive Finance และสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ ยังรักษากติกาและมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ ระมัดระวังไว้ เพื่อรักษาคุณภาพของพอร์ตโดยรวม แต่การที่มีผู้ประกอบการหย่อนเกณฑ์ให้สินเชื่อ มีส่วนสนับสนุนพฤติกรรมการก่อหนี้ในระดับครัวเรือน และลดทอนแรงจูงใจในการออม ซึ่งสุดท้ายมี ผลกระทบระยะยาวต่อภาคครัวเรือน"