หวังปัจจัยบวกใน-นอกประเทศหนุนหุ้นไทยไปต่อ
เศรษฐกิจ
นอกจากนี้การตัดสินใจของ กกต. ที่ได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาสูตรการคำนวน เพื่อจัดสรร ส.ส. ระบบบัญชีรายชือ หากผลออกมาก่อน 9 พ.ค.62 ก็จะถือเป็นปัจจัยบวกเนื่องจากไม่ทำให้กำหนดการต่างๆ คลาดเคลื่อนและยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดการคัดค้านผลการเลือกตั้งในอนาคตได้ ส่วนปัจจัยในต่างประเทศ คาดหมายว่าผลการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน น่าจะได้ข้อสรุปออกมาอย่างเป็นทางการ
ขณะที่การตั้งกำแพงภาษีเพิ่มระหว่าง สหรัฐฯ กับยุโรป ไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ประเมินว่าใน การซื้อขายวันที่ 17 – 19 เม.ย. มูลค่าการซื้อขายน่าจะบาง และทำให้ดัชนีอยู่ในช่วงการทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,660 จุด ส่วนสัปดาห์ถัดไปช่วง 22 – 26 เม.ย. มีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปเหนือ 1,660 จุด และมีเป้าหมายถัดไปที่ 1,680 จุด
สัปดาห์ที่ผ่านมาพอร์ตการลงทุน ทำให้ผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 0.59% เทียบกับ Benchmark ที่ทำได้ที่ 0.38% โดยที่สินทรัพย์การลงทุนทุกประเภทให้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดทั้งหมด สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงวันที่ 17 – 26 เม.ย. คงน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ไว้ตามเดิม เริ่มจากพอร์ตการลงทุนในหุ้นไทย คงน้ำ หนักการลงทุนไว้ที่40% บนความเชื่อว่า Fund Flow น่าจะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง STEC และ KBANK เข้าไปแทน
สำหรับหุ้นต่างประเทศให้น้ำหนักการลงทุน 15% เน้นการลงทุน ในตลาดหุ้น EM-Asia ด้านการลงทุนในตราสารหนี้กำหนดน้ำหนักการลงทุนที่ 20% ทั้งนี้คาดการณ์ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหลือของปีทำให้ยังสามารถเพิ่ม Duration เฉลี่ยให้กับพอร์ตการลงทุนได้ แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี อีกตัวเลือกการลงทุนที่สำคัญ และได้แนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนมาอย่างต่อเนื่องคือ การลงทุนในตราสารทางเลือกอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จัดน้ำหนักการลงทุนให้กับ FCN (หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงมูลฐานเป็นหุ้นต่างประเทศซึ่งเป็นการลงทุนทางเลือกใหม่ที่ซื้อขายด้วยบัญชี cash balance และ ELN (หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงมูลค่าฐานเป็น หุ้นต่างประเทศ มีการจ่ายดอกเบี้ย ทุกเดือน) อย่างละ 10% (รวม 20%) โดยให้ความสำคัญกับหุ้นอ้างอิงที่ปัจจัยพื้นฐานดี และราคาหุ้นมีความผันผวนไม่มาก และส่วนที่เหลืออีก 5% ให้สำรองไว้ในกองทุนรวม Money Market เพื่อรอจังหวะลงทุนเพิ่มในตราสารอื่นๆ