พร้อมลุยขนส่งข้ามพรมแดนไทย-เมียนมา
เศรษฐกิจ
น.ส.นงลักษณ์ กล่าวต่อว่า หากหลักเกณฑ์การคัดเลือกผ่านความเห็นชอบแล้ว ขบ. จะออกประกาศเปิดรับคำขอจากผู้ประกอบการที่สนใจและมีความพร้อม อย่างไรก็ตามไทยรอทางเมียนมายืนยันความพร้อมในการขนส่งอยู่ ซึ่งขอเวลา 2-3 เดือน ในการปรับปรุงถนนให้มีสภาพดีเอื้อต่อการขนส่ง ส่วนเส้นทางเดินรถบรรทุกขนส่งสินค้าและรถโดยสารนั้นจะเริ่มต้นที่ด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี โดยไทยจะวิ่งข้ามสะพานมิตรภาพไทย–เมียนมา แห่งที่ 1 แม่สอด-เมียวดี-ย่างกุ้ง-ท่าเรือติละวา ขณะที่ฝั่งเมียนมาจะขอวิ่ง 2 เส้นทาง คือ 1.ตลอดแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ข้ามสะพานมิตรภาพไทย–เมียนมา แห่งที่ 1 ด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี-พิษณุโลก-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร ส่วนอีก 1 เส้นทาง คือ จากแม่สอด-กรุงเทพฯ-ท่าเรือแหลมฉบัง
น.ส.นงลักษณ์ กล่าวอีกว่า หากไทยได้ผลตอบรับดีในการขนส่งไปเมียนมาก็จะขอเพิ่มจำนวนรถเป็น 500 คัน เท่ากับกรอบโควตาที่ GMS กำหนด และขอขยายเส้นทางเดินรถเพิ่ม ซึ่งในอนาคตไทยจะเจาจรกับเมียนมาในการขอเปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางด้วย โดยต้องพิจารณาความเป็นไปได้ และเหมาะสม ทั้งเส้นทางและความปลอดภัย ตลอดจนหากสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่2 อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดให้บริการจะทำให้การขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างไทย-เมียนมาสามารถใช้สะพานดังกล่าวได้ ซึ่งจะเกิดความสะดวก และลดความแออัดบริเวณหน้าด่านพรมแดนแม่สอด บนสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1 ลงได้ เพราะปัจจุบันมีรถบรรทุกไทยจากด่านแม่สอดข้ามไปเมียนมากว่า 300 คันต่อวัน ต้องรอคิวยาว ทำให้เสียเวลา.