ไฟเขียวลงนามเชื่อมรถไฟหนองคาย-เวียงจันทน์
เศรษฐกิจ
นายอาคม กล่าวต่อว่า ความร่วมมือดังกล่าวมีสาระสำคัญ อาทิ การเชื่อมต่อโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระห่างไทย-จีน และโครงการรถไฟระหว่างจีน-ลาว จะเป็นการสนับสนุนการเชื่อมโยงด้านระบบรางในภูมิภาค ,ทางรถไฟขนาดมาตรฐาน(Standard gauge)ของโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์จะใช้มาตรฐานทางเทคนิครถไฟไทย-จีน โดยจะมีการสร้างสะพานแห่งใหม่ (เฉพาะรถไฟ) คู่ขนานกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) และจะมีทางรถไฟทั้งขนาดทางมาตรฐาน ขนาด1.435 เมตร และขนาดทาง 1 เมตร ซึ่งจะรองรับทั้งรถไฟความเร็วสูงที่มาจากจีนผ่านลาวและมาถึงหนองคาย โดยจะมีสถานีรถไฟระหว่างประเทศทั้งฝั่งไทย และฝั่งลาว ทั้งนี้ทางฝ่ายจีนจะเป็นผู้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามการก่อสร้างสะพานดังกล่าวจะให้แล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกันกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ในปี 66
นายอาคม กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบการขอผ่อนผันยกเว้นมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ย.50 เพื่อก่อสร้างถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สำหรับโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร(ระยะที่2) ทางหลวงหมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สืบเนื่องจากกรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร(ระยะที่2) ทางหลวงหมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง รยะทาง 102 .5 กม.เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก ปลอดภัยและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันตก
โดยมีจุดเริ่มต้นการก่อสร้างที่กม.500+480 บริเวณแยกปฐมพร อ.เมือง จ.ชุมชุมพร สิ้นสุดที่กม.603+000 อ.เมือง จ.ระนอง แบ่งการก่อสร้างเป็น 5 ตอน ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 ตอนช่วงที่ไม่มีผลกระทบกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเปิดใช้งานแล้ว ระยะทางรวม 50.5 กม. ส่วนตอนที่ 4 และตอนที่ 5 อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งตอนที่ 5 มีแนวเส้นทางตัดผ่านอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี ระหว่างกม.597+379 ถึง กม.599+848ระยะทาง2.47กม. ซึ่งเมื่อวันที่ 13พ.ย.ครม.มีมติห้ามก่อสร้างผ่านพื้นที่พื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่เมื่อรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ได้รับการอนุมัติแล้วจึงต้องขอยกเว้นมติดังกล่าว และนำเสนอเสนอครม.เพื่อให้สามารถก่อสร้างต่อไปได้ โดยได้มีการหารือกับอุทยานแห่งชาติและปรับแบบแล้วหลายครั้งเพื่อให้การก่อสร้างมีความสวยงาม โดยเฉพาะช่วงสะพานข้ามน้ำตก.