ศูนย์วิจัยฯคาดเฟดตรึงดอกเบี้ยประคองศก.สหรัฐฯ
เศรษฐกิจ
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการปรับลดขนาดการลดงบดุลของเฟดในส่วนของพันธบัตรรัฐบาลจากระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน เหลือระดับ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือนในเดือนพ.ค. และสิ้นสุดมาตรการในเดือนก.ย. ว่าแนวทางดังกล่าว สามารถช่วยประคองการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลลบการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี 61 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เฟดคงจะพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ อาทิ การพิจารณาซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอีกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มความผ่อนคลายทางการเงิน ก่อนที่จะพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีผลต่อการปรับตัวของตลาดที่ค่อนข้างแรง เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอาจถูกตลาดตีความถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่วัฎจักรชะลอตัวในระยะข้างหน้าได้
สำหรับผลต่อเศรษฐกิจไทย การส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ คงเป็นปัจจัยที่ตลาดการเงินรับรู้ไปบางส่วนแล้ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวคงส่งผลต่อการปรับตัวของเงิน ดอลลาร์ฯ ที่คงไม่น่าจะปรับแข็งค่าจากระดับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะพัฒนาการของการเมืองในประเทศ ขณะที่การปรับเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดน่าจะส่งผลดีต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ รวมทั้งไทย ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นรวมทั้งสามารถที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น