ห่วง "อีแต๋น" ละสายตาดูกูเกิ้ล ยกเครื่องสืบสวนอุบัติเหตุถนน
เศรษฐกิจ
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เปิดเผยว่า ในการร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการงานสืบสวนอุบัติเหตุของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ครั้งที่ 4/2562 เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบความปลอดภัยงานทางในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมฯ ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการงานสืบสวนอุบัติเหตุ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะว่าถนนของ ทช. เป็นเส้นทางสายรอง และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางคดโค้ง เพราะได้ที่ดินมาจากการบริจาคมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก ประกอบกับพบพฤติกรรมของผู้ใช้ถนนไม่ให้ความสำคัญเรื่องการสวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดเพราะเห็นว่าเป็นเส้นทางที่คุ้นเคยเดินทางระยะสั้น รวมทั้งถนนของทางหลวงชนบทจะเชื่อมถนนใหญ่และมีพื้นที่สี่แยกจำนวนมาก การติดตั้งไฟแดงทำได้ลำบาก ดังนั้นพื้นที่ถนนใดที่มีพื้นที่ขอบทางเพียงพอให้ปรับเป็นวงเวียนได้ จะป้องกันอุบัติเหตุได้ดีกว่าการติดตั้งไฟแดง ซึ่งใช้งบประมาณสูงกว่าการติดตั้งวงเวียน
นพ.ธนะพงษ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ถนนของ ทช. จะมีรถเพื่อการเกษตรเข้ามาใช้งานร่วมด้วย ควรออกกฏกติกาการติดตั้งสัญญาณไฟที่ตัวรถ ซึ่งต้องมาหารือกันว่าชุมชนจะเป็นผู้กำหนดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามได้ให้ข้อสังเกตการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุทางถนนให้สอบย้อนกลับไปถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในเรื่องพฤติกรรมการขับขี่ของคนด้วย เพราะหลายคนเห็นว่าถนนโล่งใช้ความเร็วเกินและยิ่งผ่านในเขตชุมชนยิ่งอันตรายเมื่อใช้ความเร็วสูง รวมทั้งพฤติกรรมการขับรถของคนเปลี่ยนไปใช้ใช้มือถือ เพื่อดูแผนที่ผ่านกูลเกิ้ลแมพอาจมีความเสี่ยงเมื่อต้องละสายตา ขณะเดียวกันกายภาพของถนนอาจเป็นข้อจำกัดของการขับขี่โดยเฉพาะช่วงโค้งของถนนอาจต้องปรับพื้นที่ เพื่อให้รถไม่หลุดโค้งซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่มีสูตรสำเร็จ เหล่านี้เป็นการสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุครบทุกมิติเพื่อลดการตายบนท้องถนน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการเก็บข้อมูลเรื่องอุบัติจากสาธารณะสุข ประกันภัย ตำรวจและเพิ่มเติมจากหน่วยงานด้านถนน