ข่าวการบินไทยบุกเมืองท่องเที่ยวขยายครัวการบิน (คลิป) - kachon.com

การบินไทยบุกเมืองท่องเที่ยวขยายครัวการบิน (คลิป)
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s

นางวรางคณา ลือโรจน์วงศ์  กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  จะขยายฐานลูกค้าครัวการบินกับสายการบินต่างประเทศที่บินไปยังเมืองท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และกระบี่มากขึ้น  เพราะปัจจุบันสายการบินใหญ่ที่บินมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่ค่อยมี SLOT หรือตารางเวลาการเข้าออกของเที่ยวบินของสายการบินเหลือน้อยจึงวางแผนเพิ่มลูกค้าสายการบินอื่นอีก 2-3% จากปัจจุบันสัดส่วน 70% เป็นลูกค้าสายการบินไทย และที่เหลือ 30% เป็นของสายการบินอื่น  โดยตั้งเป้ารายได้เติบโตโตกว่าปีที่ผ่านมา 4-5%  ส่วนกำไรโต 9-10%  

สำหรับเกเกอร์รี่ พัพแอนด์พาย ปีที่ผ่านมาร่วมมือกับบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือพีทีที โออาร์ ผู้บริหารแบรนด์ คาเฟ่ อเมซอนนำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายในสาขาอเมซอนบางแห่ง แต่ปีนี้จะวางจำหน่ายให้ครบ  71 สาขา และเตรียมขยายตลาดไปที่อินโดจีนร่วมกับพีทีทีโออาร์เช่นกัน   และจะเปิดสาขาพัฟแอนด์พายปีนี้ 4-5 สาขา  พร้อมนำเมนูใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง  



นอกจากนี้มีแผนทำโรงงานอาหารแช่แข็ง เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ทั้งเบเกอร์รี่และอาหาร ซึ่งกำลังหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน  ถือเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน เพื่อต่อยอดของธุรกิจ เพราะเรามีความเชี่ยวชาญด้านอาหารจึงอยากขยายตลาดเพิ่ม   โดยมองขยายฐานไปยังยุโรป เพราะนิยมอาหารแช่แข็งมาก และที่ผ่านมาจากการศึกษาพบว่า อาหารไทยไปยุโรปไม่มากและเมนูอาหารไม่ได้หลากหลาย  ขณะที่การบินไทยมีความชำนาญด้านอาหารไทยและอาหารไทยถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก เนื่องจากมีความอร่อยหากเทียบกับสายการบินอื่น  ดังนั้นหากใช้แบรนด์การบินไทยไปวางจำหน่ายในยุโรป อเมริกา  และเอเชียจะเป็นการขยายตลาดใหม่ๆ  และยังเป็นการขานรับนโยบายรัฐในการนำครัวไทหยสู่ครัวโลก 


ส่วนเมนูอาหารเน้นอาหารไทยมีรสชาดไทยแท้  สำหรับลูกค้าคนไทยไม่ใช่เผ็ดอย่างเดียวมีกลิ่นของเครื่องเทศมากขึ้น   ส่วนสายการบินลูกค้าบริษัทฯ  สามารถตอบสนองได้ทุกรูปแบบ  โดยมีทีมเชฟที่มีความชำนาญอาหารที่หลากหลาย เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน อินเดีย  และปัจจุบันมีลูกค้าสายการบินต่างชาติประมาณ 60 สายการบิน   ด้านกำลังการผลิตอาหารอยู่ที่  80,00-85,000 มื้อต่อวัน เน้นใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก 90%  ที่เหลือ 10% นำเข้าจากต่างประเทศ   โดยช่วยเกษตรกรชาวประมงลงนามเอ็มโอยูนำปลากระพงมาใช้ผลิตอาหารและซื้อสินค้าในโครงการหลวงมาใช้ในการผลิตอาหาร