ข่าวไฟเขียวสะพานมิตรภาพฯแห่งที่ 5 "บึงกาฬ-บอลิคำไซ" - kachon.com

ไฟเขียวสะพานมิตรภาพฯแห่งที่ 5 "บึงกาฬ-บอลิคำไซ"
เศรษฐกิจ

photodune-2043745-college-student-s

เมื่อวันที่ 4มิ.ย.ที่กระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) วงเงิน 3,930 ล้านบาท ระยะทางรวม 16.34 กม. และอนุมัติร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและลาวว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เกี่ยวกับรายละเอียดการก่อสร้าง ภาระหน้าที่ของรัฐบาลแต่ละฝ่าย และงบประมาณ โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการระดับนโยบายและคณะกรรมการบริหารโครงการขึ้นร่วมกัน หลังจากนี้ก็จะประสานกับฝ่ายลาวเพื่อลงนามร่วมกันโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 63 และใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี เปิดให้บริการได้ในปี 66

นายอาคม กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นการเปิดเส้นทางใหม่ในการสายสัมพันธ์วัฒนธรรมสองฝั่งโขงเชื่อมโยงการค้า การลงทุน  และการท่องเที่ยว ที่จะเชื่อมไป ต่อไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม และจีนตอนใต้ได้ เป็นสะพานที่เชื่อมโยงกับทางหลวงหมายเลข 8 ไปยังประเทศลาว เวียดนามและจีนตอนใต้ โดยรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อโครงข่ายถนนในแต่ละประเทศ ขนาด 4 ช่อจราจรตามมาตรฐานทางหลวงอาเซียน และในอนาคตจะสามารถขยายเป็น 6 ช่อจราจรเต็มรูปแบบ ,การก่อสร้างสะพานมีความยาว 1,350 ม. และการก่อสร้างอาคารด่านพรหมแดนทั้งสองฝั่ง ทั้งนี้การออกแบบสะพานได้นำแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นลุ่มน้ำโขงที่แสดงถึงวัฒนธรรมของไทยและลาวมาเป็นแรงบันดาลใจทำเสาหลักของสะพานด้วย
สำหรับที่ตั้งโครงการฝ่ายไทยอยู่ที่ ต.ไคสี  อ.เมือง จ.บึงกาฬ ฝ่ายลาวอยู่ที่เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งวงเงินงบประมาณดังกล่าวแบ่งเป็นฝ่ายไทย 3,030 ล้านบาท ได้แก่ ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้าง 2,630 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้กรมทางหลวง(ทล.)จะเสนอของบประมาณปี 63 และค่าจัดกรรมสิทธิ์ 400 ล้านบาท ซึ่งทล.ได้จัดสรรงบฯปี 60-61 ไปบางส่วนแล้วคงเหลือ อีก 250 ล้านบาท จะจัดสรรงบฯปี 62 ดำเนินการ สำหรับฝ่ายลาว 1,300 ล้านบาท โดยจะใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(เนด้า) ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะมีการก่อสร้างถนนด้วย แบ่งเป็น ฝั่งไทย 13  กม. และฝั่งลาว 3.18 กม. อย่างไรก็ตามในงานก่อสร้างสะพานนั้นไทย-ลาวตกลงกันว่าจะใช้ผู้รับจ้างเพียงรายเดียว และใช้วิธีประกวดราคาแบบนานาชาติ หรือวิธีอื่นที่ 2 ฝ่ายเห็นว่าเหมาะสม ส่วนที่ปรึกษาคุมงานก็จะจ้างบริษัทเดียวคุมงานทั้งโครงการ เพื่อ
              
  นายอาคม กล่าวกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี –ลาว) ตามแผนการเชื่อมโยงในอาเซียน รวมถึงการศึกษาการก่อสร้างถนนเชื่อมจาก จ.อุดรธานีไปยัง จ.บึงกาฬ ระยะทางประมาณ 139 กม.คาดว่าใช้เวลาศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ประมาณ 2 ปี และจะเริ่มก่อสร้างได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นด้วย